Library Budget with details (For Donor)good
Uncategorized
บทสัมภาษณ์พี่โย นิตยสาร ฅคน ฉบับที่ 77 เดือน เมษายน 2555
คาราวานหนอนหนังสือ
การแบ่งปันของหญิงสาวหัวใจสว่าง
“จำได้ว่าตอนเด็กๆ มีป้าสองสามคนมาที่โรงเรียนทุกวันเสาร์ มาเล่านิทาน มาสอนพับกระดาษ โห ชอบมากเลยมันก็เลยเป็นแรงบันดาลใจที่ทำ ให้วันนี้เราก็อยากจะทำอย่างนั้น”
เวลาผ่านมากว่า 20 ปี หญิงสาวผู้นั้นกำลังเดินทางพร้อมกับหนังสือกว่า 100 เล่ม ทั้งนิทาน หนังสือภาพหนังสือเบรลล์ จากสถานเลี้ยงเด็กด้อยโอกาส ค่ายผู้ลี้ภัยไปจนถึงหมู่บ้านบนดอยสูง ทุกหนทุกแห่ง เธอเดินทางไปถึงด้วยหัวใจอันสว่างไสวที่เกิดขึ้นได้เพราะแรงบันดาลใจเล็ก ๆ ในวัยเยาว์ ด้วยความหวังว่า คนทั้งโลกจะมีโอกาสได้อ่านหนังสือ ทั้งๆ ที่ตัวเธอเอง อ่านไม่ได้ อ่านในความหมายของคนทั่ว ๆ ไป
หากใครสักคนหนึ่งจะเป็นตัวอย่างของคำพูดที่ว่าความขาดพร่อง มิใช่ปัญหาหรืออุปสรรคสำหรับการทำเพื่อ
ผู้อื่นโยชิมิ โฮริอุจิ ก็คงจะเป็นตัวอย่างของคำกล่าวนั้น
“ไม่ว่าเราเกิดมาเป็นอย่างไร เราเป็นทั้ง ผู้ให้และผู้รับได้ทั้งสองอย่าง ไม่ใช่ว่าเราเกิดมาเป็นคนพิการ แล้วจะต้อง
คาราวานหนอนหนังสือ
การแบ่งปันของหญิงสาวหัวใจสว่าง
เป็นผู้รับฝ่ายเดียวเสมอไป อย่างเราเอง บางคนอาจจะมองว่าตาบอดแล้วจะทำอะไรให้กับคนอื่นได้ด้วยหรือ เราว่าไม่ใช่ ถ้าเราอยากจะให้ อยากจะแบ่งปัน แค่มีอะไรสักอย่างเราก็แบ่งได้ แต่ถ้าไม่อยากจะแบ่ง ต่อให้มีเงินแค่ไหน มีความสามารถแค่ไหน ก็ไม่มีทางที่จะแบ่งหรอก มันอยู่ที่ใจเมื่อใดที่เราพร้อมที่จะแบ่ง เราก็สามารถทำได้”
อาจจะเป็นเพราะด้วยหัวใจแบบนี้ ที่ทำให้โยชิมิหญิงสาวชาวญี่ปุ่นวัย 28 เลือกที่จะนำชีวิตไปสู่เส้นทาง
กันดารของการทำเพื่อผู้อื่น แทนที่จะเลือกเส้นทางสบายของการเป็นผู้รอรับความช่วยเหลือ
“ตั้งแต่เล็ก เราเคยถูกช่วยเหลือจากคนโน้นคนนี้เยอะ ไปกินข้าวที่บ้านเพื่อน เขาก็จะให้เรานั่งเฉยๆ ในขณะ
ที่คนอื่นไปช่วยทำกับข้าว ช่วยล้างจานกัน ซึ่งเราไม่ชอบเลยไม่ชอบความรู้สึกขณะที่คนอื่นทำงานกันยุ่ง แต่ให้เรานั่งเฉย ๆ สบาย ๆ เราชอบที่จะทำอะไรหลาย ๆ อย่างเพราะมันทำให้รู้สึกว่ามีคุณค่าที่มีชีวิตอยู่ หลังๆ เลยไม่ค่อยไปกินข้าวบ้านใคร ถ้าจะนัดกินข้าวก็ให้มาที่บ้านเรา เดี๋ยวเราจัดให้เอง”
แม้ว่าโยชิมิเอง จะเคยมีโอกาสทำงานบริษัทที่มีความมั่นคง งานสบาย รายได้ดี สวัสดิการดี เพื่อนร่วมงานดี
เรียกได้ว่าครบถ้วนตามสูตรสำเร็จที่คนยุคปัจจุบันใฝ่หา แต่เธอก็พบว่า… ยังไม่ใช่คำตอบของชีวิต
“ตอนที่ทำงานบริษัท มันอึดอัดมาก เพราะเรารู้สึกว่า ไม่มีคนได้ผลดีจากงานที่เราทำอยู่ทุกวัน มีหลายวัน
ที่เราไม่ได้ทำอะไร ได้แต่นั่งเฉยๆ ทางบริษัทเองเขาก็ไม่ได้คาดหวังอะไรจากเรา มันก็ทำให้เรารู้สึกไม่มีคุณค่า
“เราฝันมาตั้งแต่ ม. ปลาย แล้วว่า อยากทำงานเพื่อคนที่ถูกลืมจากสังคม หรือคนที่เข้าไม่ถึงบริการต่างๆ
เราอยากทำงานกับคนพวกนี้ รวมถึงคนพิการอย่างเราด้วยแต่ตอนนั้นก็ยังไม่รู้หรอกว่าจะทำอะไรได้บ้าง รู้แต่ว่าไม่อยากจะทำงานนั่งโต๊ะในองค์กรใหญ่ๆ อย่างสหประชาชาติหรืออะไรพวกนี้ อยากจะทำงานในพื้นที่จริงมากกว่า”
หลังจากทำงานบริษัทได้ 2 ปี โยชิมิก็เริ่มต้นตามหาความฝัน ด้วยการสมัครทุนและได้รับทุนไปเรียนต่อ
ที่อินเดีย ในสถาบันนานาชาติสำหรับผู้ประกอบการและนักกิจกรรมทางสังคม
“ผู้นำที่นั่นเขาก็สอนว่า ให้ลองนึกถึงประเทศที่คุณอยากจะไปทำงานว่าคุณอยากจะทำอะไรมากที่สุด เราก็เลยคิดถึงตอนที่เคยมาประเทศไทย”
ด้วยความที่โยชิมิเคยเป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนและมีโอกาสลงพื้นที่ไปตามหมู่บ้านในชนบทหลายครั้ง จึงได้
เห็นปัญหาเรื่องการอ่านของคนไทยว่า ปัญหาที่สำคัญที่สุดไม่ได้อยู่ที่คนไม่ชอบอ่านหนังสือ แต่อยู่ที่คนจำนวนมาก“ขาดโอกาส” ที่จะเข้าถึงหนังสือ
“หมู่บ้านตามชนบทไม่มีห้องสมุด หรือ ถ้ามี หนังสือที่มีก็จะเป็นหนังสือเก่า ๆ ยิ่งคนพิการยิ่งไม่มีโอกาสเพราะหนังสือสำหรับพวกเขามีน้อยมาก แล้วก็มีปัญหาเรื่องทัศนคติที่คนส่วนใหญ่มองว่าหนังสือเป็นเรื่องเครียด เรื่องการเรียนเป็นสิ่งที่อยู่สูง ชาวบ้านเข้าไม่ถึง พ่อแม่บางคนก็มองว่าลูกเป็นชาวนาไม่ต้องให้อ่านหนังสืออะไรมาก ซึ่งแตกต่างจากญี่ปุ่น ที่ถึงแม้จะเป็นชาวนา เป็นช่าง หรือทำงานรับจ้างเขาก็อ่านหนังสือกันเป็นปกติ”
นับว่าโชคดี ที่โยชิมิเกิดมาในประเทศที่โลกแห่งการอ่านเปิดกว้างสำหรับทุกคน ทุกเงื่อนไขแห่งชีวิต และเธอเองก็โตมากับหนังสือจนเป็นหนอนหนังสือตัวยง “ที่ญี่ปุ่น ไม่ว่าจะอยู่ในหมู่บ้านเล็กแค่ไหน ก็จะมี
ห้องสมุดที่เดินไปได้ ทุกโรงเรียนมีห้องสมุดที่มีหนังสือเยอะและเข้าถึงง่าย และสำหรับคนที่ไม่สะดวกเดินทางมายืมหนังสือเอง เช่น คนพิการ ผู้สูงอายุ หรือแม่ที่เพิ่งคลอดลูกทางห้องสมุดประชาชนทั่ว ๆ ไปก็มีบริการส่งหนังสือถึงบ้าน ฟรี ส่วนคนตาบอดเอง ถ้าเดินเข้าห้องสมุดไป ก็สามารถลงชื่อจองอาสาสมัครและนัดวันให้มาช่วยอ่านหนังสือให้ฟังได้” แต่ในประเทศไทย เรื่องปกติเกี่ยวกับการอ่านของคนในประเทศนี้ กลับกระทบใจเธออย่างแรง
“ครั้งนั้นได้มีโอกาสไปกับมูลนิธิเพื่อเด็กพิการ เขาพาไปเยี่ยมบ้านเด็กพิการ ก็ไปเจอน้องคนหนึ่งที่ภาคใต้ อายุประมาณ 15-16 ปี พิการเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ ต้องนอนอยู่กับที่ตลอด และไม่สามารถไปโรงเรียนได้เพราะไม่มีใครพาไปทั้ง ๆ ที่โรงเรียนใกล้นิดเดียวเองนะ พ่อแม่ก็ต้องทำงานรับจ้าง ยายก็อายุมากแล้ว โรงเรียนก็ไม่รับเพราะเขาช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลย น้องเขาก็อ่านหนังสือไม่ออก ก็มีเพื่อนชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งถามว่า ทุกวันนี้อยู่บ้านชอบทำอะไรบ้าง น้องเขาตอบว่า ชอบดูทีวี ทุกคนอึ้งหมดเลย เราเองก็อึ้ง เพราะนั่น
เป็นสิ่งเดียวที่เขาทำเองได้
“แล้วคนที่เป็นอย่างนี้ ก็ไม่ได้มีแค่น้องคนนี้คนเดียวแต่มันมีอีกเยอะมาก…”
หญิงสาวลากเสียงยาว เพื่อแสดงปริมาณว่ากันว่า ปัญหาจะถูกแก้ไขได้ ก็ต้องเริ่มต้นจากการมองเห็นว่า สิ่งนั้นคือปัญหาเสียก่อน “เรารู้สึกว่าถ้าเขาอ่านหนังสือได้ โลกของเขาก็จะกว้างขึ้น หรืออาจจะได้เรียนหนังสือด้วยตัวเอง แล้วก็มีโอกาสในอนาคตมากกว่านี้ เราเสียดายความสามารถของน้องเขามาก เพราะถ้าเราเกิดมาในสถานการณ์แบบเขาเราก็คงจะเป็นอย่างนั้น ที่พูดกันว่า เด็กเป็นอนาคตของชาติ ตราบใดถ้าไม่ให้โอกาส ก็เท่ากับฆ่าอนาคตเลย”
เหตุการณ์ครั้งนั้นติดอยู่ในความทรงจำของเธอมาตลอด จนกระทั่งเมื่อได้มาเรียนต่อที่อินเดีย และมีโจทย์ให้
คิดเกี่ยวกับโครงการเพื่อสังคมที่อยากทำ ภาพของเด็กชายแวบขึ้นมา โครงการกว่า 10 หน้า จึงถูกร่างขึ้น และเมื่อเรียนจบ ก็มาทำให้เป็นจริงที่เมืองไทย เธอประกาศหาอาสาสมัครตามอินเตอร์เน็ต ติดประกาศตามบอร์ดของมหาวิทยาลัยการที่เธอมองไม่เห็น ไม่ใช่ปัญหา แต่การมองไม่เห็นของคนอื่นต่างหากที่เป็นปัญหา
“จริงอยู่ที่ว่ามันมีบางจุดที่ไม่สะดวก เช่น อยากจะเล่านิทานให้น้องๆ ฟัง ก็ต้องแปลเป็นอักษรเบรลล์ก่อน
จะจัดหนังสือหรือพิมพ์รายการหนังสือ ก็ต้องพึ่งเพื่อนที่ตาดีแต่ใครจะทำทุกสิ่งทุกอย่างได้ด้วยตนเองล่ะ ไม่ใช่เฉพาะคนที่ตาบอดหรอก แต่ที่ลำบากสุด ไม่ใช่การมองไม่เห็นนะแต่คือการหาทุน การหาอาสาสมัครที่จะอยู่กับเราได้ตลอด
“ลองคิดดูว่าถ้าเป็นคนปกติมาทำโครงการอย่างนี้คนอาจจะไม่สนใจเท่า เพราะพอเราเป็นอย่างนี้ ก็ทำให้
คนเกิดความสงสัยและสนใจมากขึ้น กลายเป็นข้อดีที่ทำให้ โครงการเล็ก ๆ ของเราถูกมองเห็น
“ที่ญี่ปุ่นก็มีหลายคนที่เชียร์ความคิดเรา มีหนังสือพิมพ์มาสัมภาษณ์ มีคนท้องถิ่นบ้านเดียวกันมาเชียร์ เขาก็
บอกว่าดีใจที่มีคนที่มีความฝันแบบนี้ เพราะเขารู้สึกว่าคนญี่ปุ่นเดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีความฝันกันแล้ว คนญี่ปุ่นหลายคนลืมนึกถึงคนอื่นแล้ว เพราะเศรษฐกิจไม่ดี เขาก็แปลกใจที่มีคนอย่างนี้ด้วย เขาก็ชอบ และก็เป็นกำลังใจ พร้อมทั้งช่วยสนับสนุนให้” ว่ากันว่า ความคิดฝันไม่ว่าจะงดงามสวยหรูเพียงไหน ก็คงจะไม่มีคุณค่าหากว่าไม่ได้ลงมือทำ
กุมภาพันธ์ 2553 เธอเดินทางมาถึงเมืองไทย และเริ่มปฏิบัติการ “ครั้งแรกไปที่บ้านเด็กอ่อนปากเกร็ด ตอนนั้นยังไม่เป็นกองคาราวานเลย ไปกับเพื่อนอีกหนึ่งคน ก็เริ่มจากไปเล่านิทาน ก่อนไปก็กังวลนะ ไม่แน่ใจว่าน้องเขาจะสนใจไหมแต่ผลคือน้องเขาสนใจกันมาก มีเด็กถามว่าพี่ ๆ จะมาอีกเมื่อไหร่คะ ซึ่งก็เป็นกำลังใจให้เรา และทำให้เรามีความมั่นใจมากขึ้นที่จะทำงาน” เมื่อครั้งแรกผ่านไปด้วยดี เธอจึงเริ่มนัดประชุม กลุ่มอาสาสมัครโดยตั้งชื่อว่า ‘คาราวานหนอนหนังสือ’“ครั้งต่อมาก็ไปที่สวนรถไฟ แล้วก็ไปที่ศูนย์ผู้ลี้ภัยแถว ๆ สุทธิสาร มีเด็กจาก 40 กว่าประเทศ เราก็อ่านนิทานเป็นภาษาอังกฤษให้ มีร้องเพลง เล่นเกม ที่นี่ก็ทำมาสามสี่ครั้ง แล้วก็เริ่มมองว่าที่องค์กรต่างๆ ในกรุงเทพฯมีคนมาทำกิจกรรมเยอะอยู่แล้ว เราก็เลยอยากจะไปต่างจังหวัด แล้วก็ไปเจอหมู่บ้านหนึ่งที่ อ. อู่ทอง จ. สุพรรณบุรีก็เลยเลือกที่นั่น”
การออกกองคาราวานฯ ในช่วงแรก จะเป็นลักษณะของการจัดค่าย ชวนเด็กมาทำกิจกรรม เล่านิทานให้ฟัง
สอนพับกระดาษ เล่นเกม โดยพยายามจะให้เด็กที่เข้าร่วมมีทั้งเด็กปกติและเด็กพิการ
“เรารู้สึกว่าที่ผ่านมามันมีกำแพงระหว่างเด็กพิการกับเด็กไม่พิการ คือเด็กพิการจะถูกมองว่าแปลก ว่าด้อยกว่าซึ่งเราคิดว่ามันไม่ควรจะมีกำแพงตรงนั้น และถ้าเราให้โอกาสทั้งสองกลุ่มนี้มาอยู่ด้วยกันบ่อยขึ้น เขาก็จะชินกับการเป็นเพื่อนกับคนที่แตกต่างจากเราทางร่างกาย เขาก็จะไม่มองว่าคนนี้พิการ แต่เขาก็จะมองว่าคนนี้ก็เป็นเพื่อนเราคนหนึ่งไม่ใช่คนพิการ ไม่ได้ด้อยกว่า”
การจัดกิจกรรมของกลุ่มคาราวานฯ ไม่ใช่เป็นแบบเข้ามาแล้วจากไป แต่เป้าหมายของโยชิมิ ก็คือการเข้ามาเพื่อจุดประกายของความรักการอ่านให้เกิดขึ้น จนกระทั่งเกิดการสานต่อเองในชุมชน
“เราไม่เน้นไปหลายที่ แต่เราเน้นไปบ่อย ๆ เพราะเป้าหมายของเราก็คือ ไปบ่อย ๆ จนกว่าเขาจะตั้งห้องสมุด
ของเขาเองได้ หรืออย่างน้อยก็เป็นมุมหนังสือ มีคนในชุมชนดูแลหนังสือ มีเด็ก ๆ มาใช้ ซึ่งตอนนี้ที่สุพรรณเราก็ทำได้แล้ว เป็นบ้านของครูคนหนึ่งชื่อ ครูวิบุลย์ ปานบุญ ซึ่งเขามีห้องที่ตั้งใจจะทำเป็นห้องสมุดชุมชนอยู่แล้ว แต่เขาไม่รู้จะทำยังไง ก็พอดีได้เจอกัน ก็คุยกันได้ด้วยดี เราก็เลยฝากหนังสือบางส่วนไว้ที่นั่น ให้เด็ก ๆ ได้มาใช้ “ความประทับใจก็คือ ตอนแรกที่เราเข้าไป เด็ก ๆเขาติดกิจกรรมมาก พับกระดาษ เล่นเกม ไม่ใช่หนังสืออย่างเด็กผู้ชายก็จะไม่สนใจอ่านหนังสือ แต่พอไปช่วงหลัง ๆเราก็เริ่มลดกิจกรรมลง ปล่อยให้อ่านหนังสือ ให้ยืมกลับบ้านผลปรากฏว่าเด็กก็นั่งอ่านกันใหญ่เลย วันต่อมาก็พาน้องมาดูออกเลยว่าเขาดีใจ มีเด็กหลายคนที่มาแล้วมาอีก ทุกคนที่ไปก็รู้สึกได้เลยว่าที่นี่มันติดแล้วแหละ ซึ่งก็เป็นเพราะคน
ในชุมชนให้การสนับสนุนด้วย” เมื่อที่สุพรรณบุรีได้ผล กลุ่มคาราวานฯ ก็เริ่มโครงการยังสถานที่ถัดไป นั่นก็คือ อ. พร้าว จ. เชียงใหม่ และดอยม่อนล้าน อ. เวียงป่าเป้า จ. เชียงราย
“ที่ดอยม่อนล้านเราก็กำลังมีกิจกรรมสร้างอาคารดินเพื่อเป็นศูนย์เตรียมเข้าประถมบนนั้น เพราะเราเห็นว่า
การเดินทางขึ้นลงจากดอยมันลำบาก กว่าเด็กจะลงมาเข้าโรงเรียนก็ชั้น ป.1 ทำให้เด็กเรียนตามไม่ทัน บางคนอายุ10 กว่าปี ยังอ่านหนังสือภาพไม่ได้เลย”
การสร้างศูนย์เด็กเล็กบนดอยจึงนับเป็นการช่วยตอบโจทย์ตรงนั้น โดยมีคนในพื้นที่พร้อมจะเป็นครูอยู่แล้ว
ส่วนที่ อ. พร้าว จ. เชียงใหม่ ตอนนี้ก็กำลังอยู่ในช่วงดำเนินการ
“เราสำรวจความต้องการของคนในหมู่บ้านแล้วก็พบว่ามีผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียวเยอะ เลยตั้งใจว่าอยากจะ
ทำกิจกรรมที่ให้ผู้สูงอายุและเด็ก ๆ มาทำกิจกรรมร่วมกันแล้วก็อยากที่จะทำห้องสมุดเคลื่อนที่ที่ไปหาเขาทุกวันที่คิดไว้ก็อยากจะให้เป็นเหมือนรถไอติมที่ไปตามหมู่บ้าน ไปทุกวันโดยเปลี่ยนหนังสือไปเรื่อย ๆ ให้เขามีหนังสืออ่านได้แค่เดินออกจากบ้าน โดยเราอาจจะจ้างเจ้าหน้าที่หรืออาสาสมัครในพื้นที่ให้ช่วยดูแล เมื่อทำได้แล้วเราก็จะไปที่อื่นต่อไป”
บางที การที่ใครสักคนหนึ่งจะนำพาสังคมให้ไปสู่สังคมที่ดีขึ้นได้นั้น อาจไม่ได้อยู่ที่การมีมันสมองระดับ
ปรมาจารย์ที่สามารถวางนโยบายอันสลับซับซ้อนได้ หากแต่อยู่ที่การมีหัวใจที่ไม่นิ่งเฉยและดูดายต่อความทุกข์ร้อนของเพื่อนมนุษย์ “เราก็บอกไม่ได้หรอกว่าสิ่งที่เราทำมันเปลี่ยนแปลงชีวิตเขาได้แค่ไหน แต่แค่มีเด็กสักคนหนึ่งที่ไม่ชอบอ่านหนังสือมาก่อน แล้วเขารู้สึกว่าการอ่านหนังสือมันสนุกมากขึ้น แค่นี้ก็คุ้มค่าแล้ว ซึ่งเราก็เจอแล้วนะ เด็กอย่างนี้”
หากคำพูดที่ว่าหนังสือหนึ่งเล่มสามารถเปลี่ยนชีวิตคนได้เป็นความจริง บางทีจากหนังสือเล่มแรกที่หยิบยื่น
ให้เด็กบางคนในวันนี้ อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่พาเขาไปสู่เล่มอื่น ๆ อีกเป็นสิบเป็นร้อยเล่มในอนาคต ใครจะไปรู้ว่าเด็กที่มานั่งพับกระดาษ ฟังนิทานอยู่ โตขึ้นเขาอาจจะนำเอาความประทับใจเหล่านั้น ไปสู่การแบ่งปันและให้สิ่งดี ๆ กับคนอื่น ๆ ต่อไป เหมือนดังเช่นโยชิมิเคยได้รับในวัยเด็ก
“โครงการนี้ไม่ใช่โครงการการกุศล เพราะการกุศล คือ คนที่มีเยอะให้คนที่มีน้อย แต่เราอยากจะทำให้เห็นว่าคนที่มีน้อยก็ให้กับคนที่มีเยอะได้ หรือคนที่มีน้อยจะให้คนที่มีน้อยก็ได้ ก็จะคุยกับอาสาฯ ตลอดว่าเราไม่ใช่แค่ผู้ให้ แต่เราเป็นผู้รับด้วย เราได้รับความสนุกสนาน ได้รับความรู้สึกดี ๆ ได้ทักษะใหม่ ๆ ที่ถ้าเราไม่มาทำเราก็คงไม่ได้ “ถึงเราจะอยู่ในกลุ่มคนด้อยโอกาส เราก็ถือว่าเราเป็นสมาชิกคนหนึ่งในสังคม ก็ควรจะมีอะไรที่แบ่งปันให้กับสมาชิกคนอื่นในสังคมด้วย การช่วยคนอื่นทำให้รู้สึกว่าเรามีคุณค่าที่มีชีวิตอยู่ ทุกวันนี้รู้สึกดีใจและโชคดีที่มีโอกาสได้ทำงานด้านนี้ แล้วก็รู้สึกขอบคุณที่เราได้มีชีวิตอย่างนี้”
ณ อพาร์ตเมนต์ในซอยเล็ก ๆ ย่านฝั่งธนฯ หญิงสาวคนหนึ่งกับเพื่อน ๆ กำลังขนหนังสือ 10 กว่าลัง ลงจาก
ชั้น 2 ตั้งแต่เช้ามืด เดินออกจากซอยไปเรียกตุ๊กตุ๊ก ให้เข้ามารับหนังสือไปส่งที่รถตู้ปากซอย เตรียมเดินทางไปจัดกิจกรรมโลกของเธอนั้น ช่างสว่างไสว สดใส ออกมาจากหัวใจ
ปัจจุบัน โยชิมิ โฮริอุจิ ยังต้องการหนังสือที่ไม่ใช่แบบเรียเพื่อใช้ในโครงการที่ อ. พร้าว จ. เชียงใหม่ และยินดีรับบริจาคที่
มูลนิธิอุ่นใจ ตู้ ปณ. 8 ต. เวียง อ. พร้าว จ. เชียงใหม่ 50190
หรือต้องการสนับสนุนเพิ่มเติม สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
www.alwaysreadingcaravan.org
เอื้อเฟื้อภาพกิจกรรมจาก ‘โครงการคาราวานหนอน
ขอบพระคุณ เครดิตจาก นิตยสาร ฅ คน
Call for Volunteers!
px
Dear all,
Hi! I’m Yoshi, director of Always Reading Caravan (ARC). In Thai, our project is called Caravan Norn-Nangseuu (Bookworm Caravan).
We are a non-governmental, not-for-profit organization. Our goal is to promote joy of reading and learning to Thai people in rural areas. We especially aim at children and adults who have difficulties in reaching books, such as people from lower-income group, people with disabilities, etc.
We are currently looking for motivated volunteers who would like to work with us in Thailand. Here are a few of the hundreds of things you could contribute:
-Translate Japanese picture books into Thai
-Go with us to villages to conduct story-telling activities.
-Work on our website and blogs.
-Conduct fun activities for children to show them how fun reading/learning is!
-Make tactile picture books and toys with us.
Of course, if you can think of anything that you can bring to ARC, we are more than happy to discuss with you and work together with you.
If you are interested, please contact us at
bookworm@alwaysreadingcaravan.org
or call me (Yoshi) at
083-542-7283
We can talk in either Thai, English, or Japanese ^_^
We are looking forward to hearing from you soon!
Yoshi