Type your search keyword, and press enter

About the Author

Yoshi

บทสัมภาษณ์พี่โย นิตยสาร ฅคน ฉบับที่ 77 เดือน เมษายน 2555

คาราวานหนอนหนังสือ
การแบ่งปันของหญิงสาวหัวใจสว่าง
“จำได้ว่าตอนเด็กๆ มีป้าสองสามคนมาที่โรงเรียนทุกวันเสาร์ มาเล่านิทาน มาสอนพับกระดาษ โห ชอบมากเลยมันก็เลยเป็นแรงบันดาลใจที่ทำ ให้วันนี้เราก็อยากจะทำอย่างนั้น”
เวลาผ่านมากว่า 20 ปี หญิงสาวผู้นั้นกำลังเดินทางพร้อมกับหนังสือกว่า 100 เล่ม ทั้งนิทาน หนังสือภาพหนังสือเบรลล์ จากสถานเลี้ยงเด็กด้อยโอกาส ค่ายผู้ลี้ภัยไปจนถึงหมู่บ้านบนดอยสูง ทุกหนทุกแห่ง เธอเดินทางไปถึงด้วยหัวใจอันสว่างไสวที่เกิดขึ้นได้เพราะแรงบันดาลใจเล็ก ๆ ในวัยเยาว์ ด้วยความหวังว่า คนทั้งโลกจะมีโอกาสได้อ่านหนังสือ ทั้งๆ ที่ตัวเธอเอง อ่านไม่ได้ อ่านในความหมายของคนทั่ว ๆ ไป
หากใครสักคนหนึ่งจะเป็นตัวอย่างของคำพูดที่ว่าความขาดพร่อง มิใช่ปัญหาหรืออุปสรรคสำหรับการทำเพื่อ
ผู้อื่นโยชิมิ โฮริอุจิ ก็คงจะเป็นตัวอย่างของคำกล่าวนั้น
“ไม่ว่าเราเกิดมาเป็นอย่างไร เราเป็นทั้ง ผู้ให้และผู้รับได้ทั้งสองอย่าง ไม่ใช่ว่าเราเกิดมาเป็นคนพิการ แล้วจะต้อง

คาราวานหนอนหนังสือ
การแบ่งปันของหญิงสาวหัวใจสว่าง
เป็นผู้รับฝ่ายเดียวเสมอไป อย่างเราเอง บางคนอาจจะมองว่าตาบอดแล้วจะทำอะไรให้กับคนอื่นได้ด้วยหรือ เราว่าไม่ใช่ ถ้าเราอยากจะให้ อยากจะแบ่งปัน แค่มีอะไรสักอย่างเราก็แบ่งได้ แต่ถ้าไม่อยากจะแบ่ง ต่อให้มีเงินแค่ไหน มีความสามารถแค่ไหน ก็ไม่มีทางที่จะแบ่งหรอก มันอยู่ที่ใจเมื่อใดที่เราพร้อมที่จะแบ่ง เราก็สามารถทำได้”
อาจจะเป็นเพราะด้วยหัวใจแบบนี้ ที่ทำให้โยชิมิหญิงสาวชาวญี่ปุ่นวัย 28 เลือกที่จะนำชีวิตไปสู่เส้นทาง
กันดารของการทำเพื่อผู้อื่น แทนที่จะเลือกเส้นทางสบายของการเป็นผู้รอรับความช่วยเหลือ
“ตั้งแต่เล็ก เราเคยถูกช่วยเหลือจากคนโน้นคนนี้เยอะ ไปกินข้าวที่บ้านเพื่อน เขาก็จะให้เรานั่งเฉยๆ ในขณะ
ที่คนอื่นไปช่วยทำกับข้าว ช่วยล้างจานกัน ซึ่งเราไม่ชอบเลยไม่ชอบความรู้สึกขณะที่คนอื่นทำงานกันยุ่ง แต่ให้เรานั่งเฉย ๆ สบาย ๆ เราชอบที่จะทำอะไรหลาย ๆ อย่างเพราะมันทำให้รู้สึกว่ามีคุณค่าที่มีชีวิตอยู่ หลังๆ เลยไม่ค่อยไปกินข้าวบ้านใคร ถ้าจะนัดกินข้าวก็ให้มาที่บ้านเรา เดี๋ยวเราจัดให้เอง”
แม้ว่าโยชิมิเอง จะเคยมีโอกาสทำงานบริษัทที่มีความมั่นคง งานสบาย รายได้ดี สวัสดิการดี เพื่อนร่วมงานดี
เรียกได้ว่าครบถ้วนตามสูตรสำเร็จที่คนยุคปัจจุบันใฝ่หา แต่เธอก็พบว่า… ยังไม่ใช่คำตอบของชีวิต
“ตอนที่ทำงานบริษัท มันอึดอัดมาก เพราะเรารู้สึกว่า ไม่มีคนได้ผลดีจากงานที่เราทำอยู่ทุกวัน มีหลายวัน
ที่เราไม่ได้ทำอะไร ได้แต่นั่งเฉยๆ ทางบริษัทเองเขาก็ไม่ได้คาดหวังอะไรจากเรา มันก็ทำให้เรารู้สึกไม่มีคุณค่า
“เราฝันมาตั้งแต่ ม. ปลาย แล้วว่า อยากทำงานเพื่อคนที่ถูกลืมจากสังคม หรือคนที่เข้าไม่ถึงบริการต่างๆ
เราอยากทำงานกับคนพวกนี้ รวมถึงคนพิการอย่างเราด้วยแต่ตอนนั้นก็ยังไม่รู้หรอกว่าจะทำอะไรได้บ้าง รู้แต่ว่าไม่อยากจะทำงานนั่งโต๊ะในองค์กรใหญ่ๆ อย่างสหประชาชาติหรืออะไรพวกนี้ อยากจะทำงานในพื้นที่จริงมากกว่า”
หลังจากทำงานบริษัทได้ 2 ปี โยชิมิก็เริ่มต้นตามหาความฝัน ด้วยการสมัครทุนและได้รับทุนไปเรียนต่อ
ที่อินเดีย ในสถาบันนานาชาติสำหรับผู้ประกอบการและนักกิจกรรมทางสังคม
“ผู้นำที่นั่นเขาก็สอนว่า ให้ลองนึกถึงประเทศที่คุณอยากจะไปทำงานว่าคุณอยากจะทำอะไรมากที่สุด เราก็เลยคิดถึงตอนที่เคยมาประเทศไทย”
ด้วยความที่โยชิมิเคยเป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนและมีโอกาสลงพื้นที่ไปตามหมู่บ้านในชนบทหลายครั้ง จึงได้
เห็นปัญหาเรื่องการอ่านของคนไทยว่า ปัญหาที่สำคัญที่สุดไม่ได้อยู่ที่คนไม่ชอบอ่านหนังสือ แต่อยู่ที่คนจำนวนมาก“ขาดโอกาส” ที่จะเข้าถึงหนังสือ
“หมู่บ้านตามชนบทไม่มีห้องสมุด หรือ ถ้ามี หนังสือที่มีก็จะเป็นหนังสือเก่า ๆ ยิ่งคนพิการยิ่งไม่มีโอกาสเพราะหนังสือสำหรับพวกเขามีน้อยมาก แล้วก็มีปัญหาเรื่องทัศนคติที่คนส่วนใหญ่มองว่าหนังสือเป็นเรื่องเครียด เรื่องการเรียนเป็นสิ่งที่อยู่สูง ชาวบ้านเข้าไม่ถึง พ่อแม่บางคนก็มองว่าลูกเป็นชาวนาไม่ต้องให้อ่านหนังสืออะไรมาก ซึ่งแตกต่างจากญี่ปุ่น ที่ถึงแม้จะเป็นชาวนา เป็นช่าง หรือทำงานรับจ้างเขาก็อ่านหนังสือกันเป็นปกติ”
นับว่าโชคดี ที่โยชิมิเกิดมาในประเทศที่โลกแห่งการอ่านเปิดกว้างสำหรับทุกคน ทุกเงื่อนไขแห่งชีวิต และเธอเองก็โตมากับหนังสือจนเป็นหนอนหนังสือตัวยง “ที่ญี่ปุ่น ไม่ว่าจะอยู่ในหมู่บ้านเล็กแค่ไหน ก็จะมี
ห้องสมุดที่เดินไปได้ ทุกโรงเรียนมีห้องสมุดที่มีหนังสือเยอะและเข้าถึงง่าย และสำหรับคนที่ไม่สะดวกเดินทางมายืมหนังสือเอง เช่น คนพิการ ผู้สูงอายุ หรือแม่ที่เพิ่งคลอดลูกทางห้องสมุดประชาชนทั่ว ๆ ไปก็มีบริการส่งหนังสือถึงบ้าน ฟรี ส่วนคนตาบอดเอง ถ้าเดินเข้าห้องสมุดไป ก็สามารถลงชื่อจองอาสาสมัครและนัดวันให้มาช่วยอ่านหนังสือให้ฟังได้” แต่ในประเทศไทย เรื่องปกติเกี่ยวกับการอ่านของคนในประเทศนี้ กลับกระทบใจเธออย่างแรง
“ครั้งนั้นได้มีโอกาสไปกับมูลนิธิเพื่อเด็กพิการ เขาพาไปเยี่ยมบ้านเด็กพิการ ก็ไปเจอน้องคนหนึ่งที่ภาคใต้ อายุประมาณ 15-16 ปี พิการเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ ต้องนอนอยู่กับที่ตลอด และไม่สามารถไปโรงเรียนได้เพราะไม่มีใครพาไปทั้ง ๆ ที่โรงเรียนใกล้นิดเดียวเองนะ พ่อแม่ก็ต้องทำงานรับจ้าง ยายก็อายุมากแล้ว โรงเรียนก็ไม่รับเพราะเขาช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลย น้องเขาก็อ่านหนังสือไม่ออก ก็มีเพื่อนชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งถามว่า ทุกวันนี้อยู่บ้านชอบทำอะไรบ้าง น้องเขาตอบว่า ชอบดูทีวี ทุกคนอึ้งหมดเลย เราเองก็อึ้ง เพราะนั่น
เป็นสิ่งเดียวที่เขาทำเองได้
“แล้วคนที่เป็นอย่างนี้ ก็ไม่ได้มีแค่น้องคนนี้คนเดียวแต่มันมีอีกเยอะมาก…”
หญิงสาวลากเสียงยาว เพื่อแสดงปริมาณว่ากันว่า ปัญหาจะถูกแก้ไขได้ ก็ต้องเริ่มต้นจากการมองเห็นว่า สิ่งนั้นคือปัญหาเสียก่อน “เรารู้สึกว่าถ้าเขาอ่านหนังสือได้ โลกของเขาก็จะกว้างขึ้น หรืออาจจะได้เรียนหนังสือด้วยตัวเอง แล้วก็มีโอกาสในอนาคตมากกว่านี้ เราเสียดายความสามารถของน้องเขามาก เพราะถ้าเราเกิดมาในสถานการณ์แบบเขาเราก็คงจะเป็นอย่างนั้น ที่พูดกันว่า เด็กเป็นอนาคตของชาติ ตราบใดถ้าไม่ให้โอกาส ก็เท่ากับฆ่าอนาคตเลย”
เหตุการณ์ครั้งนั้นติดอยู่ในความทรงจำของเธอมาตลอด จนกระทั่งเมื่อได้มาเรียนต่อที่อินเดีย และมีโจทย์ให้
คิดเกี่ยวกับโครงการเพื่อสังคมที่อยากทำ ภาพของเด็กชายแวบขึ้นมา โครงการกว่า 10 หน้า จึงถูกร่างขึ้น และเมื่อเรียนจบ ก็มาทำให้เป็นจริงที่เมืองไทย เธอประกาศหาอาสาสมัครตามอินเตอร์เน็ต ติดประกาศตามบอร์ดของมหาวิทยาลัยการที่เธอมองไม่เห็น ไม่ใช่ปัญหา แต่การมองไม่เห็นของคนอื่นต่างหากที่เป็นปัญหา
“จริงอยู่ที่ว่ามันมีบางจุดที่ไม่สะดวก เช่น อยากจะเล่านิทานให้น้องๆ ฟัง ก็ต้องแปลเป็นอักษรเบรลล์ก่อน
จะจัดหนังสือหรือพิมพ์รายการหนังสือ ก็ต้องพึ่งเพื่อนที่ตาดีแต่ใครจะทำทุกสิ่งทุกอย่างได้ด้วยตนเองล่ะ ไม่ใช่เฉพาะคนที่ตาบอดหรอก แต่ที่ลำบากสุด ไม่ใช่การมองไม่เห็นนะแต่คือการหาทุน การหาอาสาสมัครที่จะอยู่กับเราได้ตลอด
“ลองคิดดูว่าถ้าเป็นคนปกติมาทำโครงการอย่างนี้คนอาจจะไม่สนใจเท่า เพราะพอเราเป็นอย่างนี้ ก็ทำให้
คนเกิดความสงสัยและสนใจมากขึ้น กลายเป็นข้อดีที่ทำให้ โครงการเล็ก ๆ ของเราถูกมองเห็น
“ที่ญี่ปุ่นก็มีหลายคนที่เชียร์ความคิดเรา มีหนังสือพิมพ์มาสัมภาษณ์ มีคนท้องถิ่นบ้านเดียวกันมาเชียร์ เขาก็
บอกว่าดีใจที่มีคนที่มีความฝันแบบนี้ เพราะเขารู้สึกว่าคนญี่ปุ่นเดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีความฝันกันแล้ว คนญี่ปุ่นหลายคนลืมนึกถึงคนอื่นแล้ว เพราะเศรษฐกิจไม่ดี เขาก็แปลกใจที่มีคนอย่างนี้ด้วย เขาก็ชอบ และก็เป็นกำลังใจ พร้อมทั้งช่วยสนับสนุนให้” ว่ากันว่า ความคิดฝันไม่ว่าจะงดงามสวยหรูเพียงไหน ก็คงจะไม่มีคุณค่าหากว่าไม่ได้ลงมือทำ
กุมภาพันธ์ 2553 เธอเดินทางมาถึงเมืองไทย และเริ่มปฏิบัติการ “ครั้งแรกไปที่บ้านเด็กอ่อนปากเกร็ด ตอนนั้นยังไม่เป็นกองคาราวานเลย ไปกับเพื่อนอีกหนึ่งคน ก็เริ่มจากไปเล่านิทาน ก่อนไปก็กังวลนะ ไม่แน่ใจว่าน้องเขาจะสนใจไหมแต่ผลคือน้องเขาสนใจกันมาก มีเด็กถามว่าพี่ ๆ จะมาอีกเมื่อไหร่คะ ซึ่งก็เป็นกำลังใจให้เรา และทำให้เรามีความมั่นใจมากขึ้นที่จะทำงาน” เมื่อครั้งแรกผ่านไปด้วยดี เธอจึงเริ่มนัดประชุม กลุ่มอาสาสมัครโดยตั้งชื่อว่า ‘คาราวานหนอนหนังสือ’“ครั้งต่อมาก็ไปที่สวนรถไฟ แล้วก็ไปที่ศูนย์ผู้ลี้ภัยแถว ๆ สุทธิสาร มีเด็กจาก 40 กว่าประเทศ เราก็อ่านนิทานเป็นภาษาอังกฤษให้ มีร้องเพลง เล่นเกม ที่นี่ก็ทำมาสามสี่ครั้ง แล้วก็เริ่มมองว่าที่องค์กรต่างๆ ในกรุงเทพฯมีคนมาทำกิจกรรมเยอะอยู่แล้ว เราก็เลยอยากจะไปต่างจังหวัด แล้วก็ไปเจอหมู่บ้านหนึ่งที่ อ. อู่ทอง จ. สุพรรณบุรีก็เลยเลือกที่นั่น”
การออกกองคาราวานฯ ในช่วงแรก จะเป็นลักษณะของการจัดค่าย ชวนเด็กมาทำกิจกรรม เล่านิทานให้ฟัง
สอนพับกระดาษ เล่นเกม โดยพยายามจะให้เด็กที่เข้าร่วมมีทั้งเด็กปกติและเด็กพิการ
“เรารู้สึกว่าที่ผ่านมามันมีกำแพงระหว่างเด็กพิการกับเด็กไม่พิการ คือเด็กพิการจะถูกมองว่าแปลก ว่าด้อยกว่าซึ่งเราคิดว่ามันไม่ควรจะมีกำแพงตรงนั้น และถ้าเราให้โอกาสทั้งสองกลุ่มนี้มาอยู่ด้วยกันบ่อยขึ้น เขาก็จะชินกับการเป็นเพื่อนกับคนที่แตกต่างจากเราทางร่างกาย เขาก็จะไม่มองว่าคนนี้พิการ แต่เขาก็จะมองว่าคนนี้ก็เป็นเพื่อนเราคนหนึ่งไม่ใช่คนพิการ ไม่ได้ด้อยกว่า”
การจัดกิจกรรมของกลุ่มคาราวานฯ ไม่ใช่เป็นแบบเข้ามาแล้วจากไป แต่เป้าหมายของโยชิมิ ก็คือการเข้ามาเพื่อจุดประกายของความรักการอ่านให้เกิดขึ้น จนกระทั่งเกิดการสานต่อเองในชุมชน
“เราไม่เน้นไปหลายที่ แต่เราเน้นไปบ่อย ๆ เพราะเป้าหมายของเราก็คือ ไปบ่อย ๆ จนกว่าเขาจะตั้งห้องสมุด
ของเขาเองได้ หรืออย่างน้อยก็เป็นมุมหนังสือ มีคนในชุมชนดูแลหนังสือ มีเด็ก ๆ มาใช้ ซึ่งตอนนี้ที่สุพรรณเราก็ทำได้แล้ว เป็นบ้านของครูคนหนึ่งชื่อ ครูวิบุลย์ ปานบุญ ซึ่งเขามีห้องที่ตั้งใจจะทำเป็นห้องสมุดชุมชนอยู่แล้ว แต่เขาไม่รู้จะทำยังไง ก็พอดีได้เจอกัน ก็คุยกันได้ด้วยดี เราก็เลยฝากหนังสือบางส่วนไว้ที่นั่น ให้เด็ก ๆ ได้มาใช้ “ความประทับใจก็คือ ตอนแรกที่เราเข้าไป เด็ก ๆเขาติดกิจกรรมมาก พับกระดาษ เล่นเกม ไม่ใช่หนังสืออย่างเด็กผู้ชายก็จะไม่สนใจอ่านหนังสือ แต่พอไปช่วงหลัง ๆเราก็เริ่มลดกิจกรรมลง ปล่อยให้อ่านหนังสือ ให้ยืมกลับบ้านผลปรากฏว่าเด็กก็นั่งอ่านกันใหญ่เลย วันต่อมาก็พาน้องมาดูออกเลยว่าเขาดีใจ มีเด็กหลายคนที่มาแล้วมาอีก ทุกคนที่ไปก็รู้สึกได้เลยว่าที่นี่มันติดแล้วแหละ ซึ่งก็เป็นเพราะคน
ในชุมชนให้การสนับสนุนด้วย” เมื่อที่สุพรรณบุรีได้ผล กลุ่มคาราวานฯ ก็เริ่มโครงการยังสถานที่ถัดไป นั่นก็คือ อ. พร้าว จ. เชียงใหม่ และดอยม่อนล้าน อ. เวียงป่าเป้า จ. เชียงราย
“ที่ดอยม่อนล้านเราก็กำลังมีกิจกรรมสร้างอาคารดินเพื่อเป็นศูนย์เตรียมเข้าประถมบนนั้น เพราะเราเห็นว่า
การเดินทางขึ้นลงจากดอยมันลำบาก กว่าเด็กจะลงมาเข้าโรงเรียนก็ชั้น ป.1 ทำให้เด็กเรียนตามไม่ทัน บางคนอายุ10 กว่าปี ยังอ่านหนังสือภาพไม่ได้เลย”
การสร้างศูนย์เด็กเล็กบนดอยจึงนับเป็นการช่วยตอบโจทย์ตรงนั้น โดยมีคนในพื้นที่พร้อมจะเป็นครูอยู่แล้ว
ส่วนที่ อ. พร้าว จ. เชียงใหม่ ตอนนี้ก็กำลังอยู่ในช่วงดำเนินการ
“เราสำรวจความต้องการของคนในหมู่บ้านแล้วก็พบว่ามีผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียวเยอะ เลยตั้งใจว่าอยากจะ
ทำกิจกรรมที่ให้ผู้สูงอายุและเด็ก ๆ มาทำกิจกรรมร่วมกันแล้วก็อยากที่จะทำห้องสมุดเคลื่อนที่ที่ไปหาเขาทุกวันที่คิดไว้ก็อยากจะให้เป็นเหมือนรถไอติมที่ไปตามหมู่บ้าน ไปทุกวันโดยเปลี่ยนหนังสือไปเรื่อย ๆ ให้เขามีหนังสืออ่านได้แค่เดินออกจากบ้าน โดยเราอาจจะจ้างเจ้าหน้าที่หรืออาสาสมัครในพื้นที่ให้ช่วยดูแล เมื่อทำได้แล้วเราก็จะไปที่อื่นต่อไป”
บางที การที่ใครสักคนหนึ่งจะนำพาสังคมให้ไปสู่สังคมที่ดีขึ้นได้นั้น อาจไม่ได้อยู่ที่การมีมันสมองระดับ
ปรมาจารย์ที่สามารถวางนโยบายอันสลับซับซ้อนได้ หากแต่อยู่ที่การมีหัวใจที่ไม่นิ่งเฉยและดูดายต่อความทุกข์ร้อนของเพื่อนมนุษย์ “เราก็บอกไม่ได้หรอกว่าสิ่งที่เราทำมันเปลี่ยนแปลงชีวิตเขาได้แค่ไหน แต่แค่มีเด็กสักคนหนึ่งที่ไม่ชอบอ่านหนังสือมาก่อน แล้วเขารู้สึกว่าการอ่านหนังสือมันสนุกมากขึ้น แค่นี้ก็คุ้มค่าแล้ว ซึ่งเราก็เจอแล้วนะ เด็กอย่างนี้”
หากคำพูดที่ว่าหนังสือหนึ่งเล่มสามารถเปลี่ยนชีวิตคนได้เป็นความจริง บางทีจากหนังสือเล่มแรกที่หยิบยื่น
ให้เด็กบางคนในวันนี้ อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่พาเขาไปสู่เล่มอื่น ๆ อีกเป็นสิบเป็นร้อยเล่มในอนาคต ใครจะไปรู้ว่าเด็กที่มานั่งพับกระดาษ ฟังนิทานอยู่ โตขึ้นเขาอาจจะนำเอาความประทับใจเหล่านั้น ไปสู่การแบ่งปันและให้สิ่งดี ๆ กับคนอื่น ๆ ต่อไป เหมือนดังเช่นโยชิมิเคยได้รับในวัยเด็ก
“โครงการนี้ไม่ใช่โครงการการกุศล เพราะการกุศล คือ คนที่มีเยอะให้คนที่มีน้อย แต่เราอยากจะทำให้เห็นว่าคนที่มีน้อยก็ให้กับคนที่มีเยอะได้ หรือคนที่มีน้อยจะให้คนที่มีน้อยก็ได้ ก็จะคุยกับอาสาฯ ตลอดว่าเราไม่ใช่แค่ผู้ให้ แต่เราเป็นผู้รับด้วย เราได้รับความสนุกสนาน ได้รับความรู้สึกดี ๆ ได้ทักษะใหม่ ๆ ที่ถ้าเราไม่มาทำเราก็คงไม่ได้ “ถึงเราจะอยู่ในกลุ่มคนด้อยโอกาส เราก็ถือว่าเราเป็นสมาชิกคนหนึ่งในสังคม ก็ควรจะมีอะไรที่แบ่งปันให้กับสมาชิกคนอื่นในสังคมด้วย การช่วยคนอื่นทำให้รู้สึกว่าเรามีคุณค่าที่มีชีวิตอยู่ ทุกวันนี้รู้สึกดีใจและโชคดีที่มีโอกาสได้ทำงานด้านนี้ แล้วก็รู้สึกขอบคุณที่เราได้มีชีวิตอย่างนี้”
ณ อพาร์ตเมนต์ในซอยเล็ก ๆ ย่านฝั่งธนฯ หญิงสาวคนหนึ่งกับเพื่อน ๆ กำลังขนหนังสือ 10 กว่าลัง ลงจาก
ชั้น 2 ตั้งแต่เช้ามืด เดินออกจากซอยไปเรียกตุ๊กตุ๊ก ให้เข้ามารับหนังสือไปส่งที่รถตู้ปากซอย เตรียมเดินทางไปจัดกิจกรรมโลกของเธอนั้น ช่างสว่างไสว สดใส ออกมาจากหัวใจ
ปัจจุบัน โยชิมิ โฮริอุจิ ยังต้องการหนังสือที่ไม่ใช่แบบเรียเพื่อใช้ในโครงการที่ อ. พร้าว จ. เชียงใหม่ และยินดีรับบริจาคที่
มูลนิธิอุ่นใจ ตู้ ปณ. 8 ต. เวียง อ. พร้าว จ. เชียงใหม่ 50190
หรือต้องการสนับสนุนเพิ่มเติม สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
www.alwaysreadingcaravan.org
เอื้อเฟื้อภาพกิจกรรมจาก ‘โครงการคาราวานหนอน

ขอบพระคุณ เครดิตจาก นิตยสาร ฅ คน

Call for Volunteers: Japanese Social Media Coordinator

Background Information:
Always Reading Caravan (ARC) is a non-governmental and not-for-profit organization to promote the joy of reading and learning among children with and without disabilities in Thailand. Our missions are:
• to promote reading for pleasure,
• to provide equal reading opportunities for children from various background, and
• to encourage children with and without disabilities to mingle with one another to remove mental barrier between them.

We run weekend mobile library activities in Bangkok and surrounding area. In the north, we have a small permanent library with mobile library services in Phrao, Chiangmai. Also, we are running Sunshine Kids Center, a small early learning center for Akha children in Wiang-pa-pao, Chiangrai.

For more details, please visit our website at
http://www.alwaysreadingcaravan.org
or our Facebook page (more up-to-date information with photos)at
www.facebook.com/arcbookworm
You can also follow us on Twitter at @arcbookworm.

Job description for volunteers:
Since we are a small organization with only 2 full-time staff, social media has become a crucial tool in order for us to send our message across. We have quite active Facebook page at
www.facebook.com/arcbookworm
and not too active account at
www.twitter.com/arcbookworm

They are in English and Thai language, and we would love to add Japanese, as we have a lot of supporters in Japan. So we are looking for someone to translate existing contents in these social media contents either from Thai or English into Japanese, and also be active in posting new contents himself/herself.

The main tasks of the Japanese social media coordinator include:
Translate the contents of Facebook page into Japanese, including both existing and new postings.
Help us prepare Japanese contents for our new website.
Possibly doing some fundraising in collaboration ARC supporters in Japan.

Qualifications:
As a Japanese social media coordinator, you are expected to:
Have excellent writing skill in Japanese.
Have very good communication skills in either English or Thai. (Prefer English).
Have good access to Internet on daily basis.
Are familiar (or are ready to get yourself familiarized) with such social media as Facebook, Twitter, and Linkedin.

If you are interested, please send an email with your CV at
volunteer@alwaysreadingcaravan.org
or call for inquiry at Ms. Yoshimi Horiuchi in either Thai, English, or Japanese at
+66 (0) 83-542-7283

Thank you for reading, and we, all staff at ARC, are looking forward to hearing from you!

Million Thanks to Security Guards in Thailand!! (Letter from a Blind Bookworm)

With Security Guard Guy at the Stamp Shop, MBK (Jun. 16, 2012)
With Security Guard Guy at the Stamp Shop, MBK (Jun. 16, 2012)
    Those of you who live or have lived in Thailand must know that we can see a lot of security guards all around the country. Department stores, airport, bus terminals, stations, schools, government buildings… I cannot even imagine how many people stand on guard for all of us.

    But do you know that they play very essential roles for life of persons with disabilities–especially blind travellers like me? They are always there to help me navigate through the caotic city of Bangkok, get on the right bus at the terminal in up-province, and even to go shopping.

    Today, I met some friends at Victory Monument station, and went to Siam Paragon to stop by at bank. Afterwards, I went to MBK Center to pick up our new stamp for ARC. I did it all by myself BECAUSE I got help from security guard staff at every single spots. To honor their friendly and untold work, I would like to list up all of them here:

    1. At Victory Monument Station from the ticket gate to the platform
    2. At Siam station from platform to the entrance of Siam Paragon
    3. Inside Paragon, from entrance to the bank, and back to BTS gate
    4. At the Siam station, from the gate to the platform again
    5. At National Stadium station, from platform to the entrance of MBK Center
    6. At MBK, at the entrance to the stamp shop (with some wandering around, trying to locate the small shop), and back to the BTS (This is the guy in this photo with me.)
    7. At National Stadium station, from the gate to the platform again.

    I know that most of security guards might not be on Facebook, and nor do they read English, but I just want to take this chance to express my gratitude for their work that is rarely appreciated publicly. Brothers and sisters, without your help, my life in Thailand would have been much harder than it is!

    With much much respect and gratitude,

    Yoshimi

Opening of Sunshine Kids Center in Siplang Village

After 3 months of ups and downs since January this year, we finally reached the day to open the door of the early learning center for Akha children in Siplang Villagein Doi Monlan, Wiang-pa-pao, Chiangrai. Inspired by the idea of Mr. Katsuhiro Mizuno, our main donor (an architect from Gifu, Japan), we named it Sunshine Kids Center. As you can see in the photos, we made the sign board with 4 languages: English, Thai, Akha, and Japanese, to indicate that this center is the result of collaboration by many organizations and people around the world.

The moment we brought in blackboard, colorful books, toys, and puzzles, purchased with support from all children and adults at Bangkok Prep school, children started to stream into the center. All kids, big and small, literate and not yet so, got to enjoy all the cool stuff 🙂

Saturday went by in an instant as we did last-minute preparation–paving the path to the bathroom at the back, putting up the sign board and the banner, organizing books and tory in places, etc. We had our first meeting with the parents to talk about school schedule and other small but important agreements. When Yoshi was having the meeting, Tuu was busy reading to a bunch of eager kids (including those who don’t understand Thai language!).

To mark this day, we held a small opening ceremony on Sunday morning. Since Siplang is a Christian village, we started by singing gospel songs and hymns outside the center. P’Sem, the religious leader and the main constructor, led the prayer before opening the door. All of us went inside, and exchanged thanks and happiness inside the cool and cozy room. Kids couldn’t stand listening, so they started to reach books to read as grownups talked :p

Of course, this is just the beginning of the center’s history, but we definitely feel that it was a major milestone. We are so grateful for each and every individuals and organizations who care about us and support us from near and far. THANK YOU!!

Siplang Village in New Year Celebration

We visited the village one last time before the opening ceremony. The whole village was in celebration to welcome new year. In fact, according to P’Nalae, our would-be teacher at the children center, there is no “absolute” new year’s day around this region. Each village take turns to celebrate during early April, so that there will be good meals offered in different villages for people to join.

In the afternoon, they killed a pig at the back of P’Nalae’s house, then the whole village came to help cutting it up into different parts. Meat was shared amongst all villagers, and without question, it was a huge dinner that night, starting with a prayer. They literally eat EVERY part of the generous pig.

All the ladies stayed up late that night to prepare for the celebration next day. They’d pounded up a kind of purple onion (not the edible one), and cook it with eggs to color them red. Also, they mix rice powder with sugar cane juice to be wrapped in banana leaf. Of course, our beloved P’Nalae was not at all an exception!

The next morning started with morning service, and children got red eggs as good luck gift. As soon as the service was over, kids started to hithis/her egg against another’s. This is a small competition to see “Who’s got the toughest egg?!” FYI, I did it with Tuu, and Tuu got stronger one :p

they enjoyed sweets and drinks. ARC made a small contribution by making sweet iced tea for the villagers. Since electricity is mainly just for lighting at night, there is no refridgerators in Siplang. So, iced tea, or, iced ANYTHING is hard to come by.

Someone made a huge potful of noodle in spicy soup, so the party went on and on till after lunch, but we came back around lunch time. It meant a lot as this was our first time to join their new year’s day. We all hope that we will be able to come back again and again to celebrate with them in years to come.

新年のご挨拶

謹賀新年

竜はどんな姿形をしていますか?
何色をしていますか?
どんなことができますか?
思い切りほえるとき、どんな声をしていますか?

さあ、竜の背によじ登って、
空高く飛び上がってみてください。
何が見えますか?
何を感じますか?
どんな匂いがしますか?

これが、想像力の力です。
夢を見ることの美しさです。

皆様のご支援の下、アークどこでも本読み隊は、本と人とをつなぐことで、年齢にかかわらず、すべての人が想像力と夢を持てるように応援します。
辰年の2012年も、皆様が健康に恵まれ、想像し、夢を見る時間にあふれた日々を過ごされますように。
皆様のすばらしい夢が、年齢、お仕事、お財布の中身などという、小さい問題に押しつぶされませんように。
「ぴんとこない」とか、「そんなの子供のためだけにあるものでしょ」と思われる方は、ぜひ私たちの活動に参加してください。
大人にこそ、想像する力、夢を見る力が重要なのだということを納得していただけるかもしれません。

2012年が、皆様にとってよい年となりますよう、アークのメンバー一同、心よりお祈りしています。

New Year Greetings

Do you know what a dragon look like?
What color is he?
What can he do?
What sound does he make when he roar with all his might?

Now, try to go on his back,
and fly up in the sky with him.
What can you see?
How do you feel?
What do you smell?

Friends, this is the power of imagination, and the beauty of dreams.

With your continuous support, ARC has been trying to empower people of all ages to imagine and to dream on by bridging between books and people  who cannot reach them.
In this year of dragon, with much respect and gratitude, I wish you a healthy year with time to imagine and dream.
Don’t let anything (amount of your hair, what you do to eat, money in your wallet, or whatever) come and intervene!
Forgot how to imagine? Thought dreams were for kids only?
Well, join us, and soon you will see.

A happy 2012 to you!

จดหมายข่าว คาราวานหนอนหนังสือ (ARC) ประจำเดือน ธันวาคม 2554

ถึง เพื่อนๆ คาราวานหนอนหนังสือทุกคน

 

ทักทายจาก อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ซึ่งห่างไกลจากคริสต์มาสที่เต็มไปด้วยหิมะ แต่พวกเราก็ยังรู้สึกได้ถึงความหนาวขณะที่ขี่มอเตอร์ไซด์ ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส
พวกเราขอทักทายและส่งคำอวยพรสำหรับวันคริสต์มาสด้วยนะคะ แม้ว่ามันจะช้าไป 2 วันก็ตาม
วันนี้พวกเราไปส่งของขวัญวันคริสต์มาสให้กับคุณตาวัย 90 ปี ในหมู่บ้านห้วยทราย
แล้วของขวัญนั้นจะเป็นอะไรล่ะ?
แน่นอน มันคือหนังสือ!
พวกเรานำคัมภีร์ไบเบิลและหนังสือคริสเตียน ซึ่งพวกเราได้รับบริจาคมาจากเพื่อนคนหนึ่งของเราที่กรุงเทพฯ
คุณตาเป็นคริสเตียนเพียงคนเดียวในครอบครัวและเริ่มหูตึง คุณตาดีใจมากที่ได้รับของขวัญจากเรา
นี่เป็นอีกสะพานหนึ่งที่เราสร้างขึ้นเพื่อเชื่อมโยงหนังสือเข้ากับผู้คน ขอบคุณสำหรับเพื่อนๆที่สนับสนุนเรา

พวกเรา ขอขอบคุณทุกคนที่ให้การสนันสนุน ARC มาตลอดปี 2554 นี้
และคุณทำให้ผู้คนกับหนังสือ สื่อถึงกันได้
ARC ไม่ได้มีของขวัญพิเศษอะไรมามอบให้กับทุกคน แต่โปรดภูมิใจว่า “คุณ”เป็นคนหนึ่งที่ได้มอบรอยยิ้มให้แก่เด็กๆ
คุณ”เป็นคนหนึ่งที่ทำให้คุณยายหัวเราะเมื่ออาสาสมัครอ่านหนังสือให้คุณยายฟัง
ความรู้สึกอบอุ่นและความรู้สึกดีๆที่คุณรู้สึกได้นั้น ถือเป็นของขวัญจากพวกเรา
มาสนุกกับสัปดาห์สุดท้ายของปี 2554 และ เตรียมพร้อมต้อนรับ ปี 2555! ไปด้วยกันนะคะ

โย

Bookworm News Dec. 2011: Christmas of a 90-Year-Old Grandpa

Dear friends of ARC around the globe,

It’s far from white Christmas here in Phrao, Chiangmai, but we feel freezing while driving the motorbike around under 20 degrees.
Let us send you our heartful Christmas greetings, though it’s already a few days late!
Today, we went to deliver Christmas gifts to a 90-year-old grandpa in Huai Sai village.
What were the gifts?
OF COURSE, books!
We brought him a Bible and some Christian books, which were donated from one of our friends in Bangkok.
As the only one Christian in the entire family and being hard of hearing, he seemed to enjoy our gift a lot.
Another bridge between books and people were built, thanks to our friends’ support.
We thank each and every one of you for supporting ARC throughout 2011.
You made it possible for us to connect books and people.
ARC cannot give you any gifts, but please be proud that YOU were the one who put on a smile on the kid’s face.
YOU were the one who made that grandma laugh as our volunteer read for her.
That warm feeling in you is the gift from us.
Let’s enjoy the last week of 2011, and get ready to welcome 2012!

With warm regards and much gratitude,

Yoshi